| |||||
|
พันธุ์ปลา.com
บุญลาภฟาร์ม จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืด 081-3057577 E-mail : fishfarm.blf@gmail.com
7 เม.ย. 2556
cat-fish ปลาดุก
(Climbing perch) ปลาหมอไทย
ปลาหมอไทย (Climbing perch)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Anabas testudineus (Bloch)
---------------------------------------
ปลาหมอ เป็นปลาที่รู้จักและนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย ทั่วทุกภาคของประเทศไทยเนื่องจากปลาที่มีรสชาติ เป็นปลาที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ
ในขณะที่ผลผลิตปลาหมอไทยส่วนใหญ่ได้มาจากการทำประมง จากแหล่งน้ำธรรมชาติ ปัจจุบันมีเกษตรกรเลี้
ยงปลาหมอไทยเป็นอาชีพกันมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
แหล่งที่อยู่อาศัย ปลาหมอไทย อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วๆไป ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ปลาหมอไทย สามารถปรับตัวเจริญเติบโตเข้ากับสภาพแวดล้อม
ที่เป็นน้ำกร่อยที่มีความเค็มไม่เกิน 7 ส่วนในพันได้ เป็นปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ
ปลาหมอไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นเช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า ปลาสะเด็ด ภาคเหนือ เรียกว่า ปลาแข็ง และภาคใต้
เรียกชื่อเป็นภาษายาวีว่า อีแกปูยู ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ปลาหมอ

ที่เป็นน้ำกร่อยที่มีความเค็มไม่เกิน 7 ส่วนในพันได้ เป็นปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ
ปลาหมอไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นเช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า ปลาสะเด็ด ภาคเหนือ เรียกว่า ปลาแข็ง และภาคใต้
เรียกชื่อเป็นภาษายาวีว่า อีแกปูยู ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ปลาหมอ

รูปร่างลักษณะภายนอก
ปลาหมอไทยมีลำตัวค่อนข้างแบนลำตัวมีสีน้ำตาลดำ หรือคล้ำ ส่วนท้องมีสีขาวหรือเหลืองอ่อนส่วนลำตัวมีเกล็ดแข็ง กระพุ้งแก้มมีลักษณะเป็นหนามหยัก แหลมคม ใช้ในการปีนป่าย บริเวณโคนหางมีจุดกลมสีดำ
ปลาหมอไทยมีลำตัวค่อนข้างแบนลำตัวมีสีน้ำตาลดำ หรือคล้ำ ส่วนท้องมีสีขาวหรือเหลืองอ่อนส่วนลำตัวมีเกล็ดแข็ง กระพุ้งแก้มมีลักษณะเป็นหนามหยัก แหลมคม ใช้ในการปีนป่าย บริเวณโคนหางมีจุดกลมสีดำ
ลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศ
ปลาหมอไทยเพศเมียจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากกว่า เพศผู้ เพศผู้มีลักษณะลำตัวเรียวยาว ในระยะฤดูวางไข่ส่วนท้องของปลาเพศเมียจะอูมเป่ง
ปลาหมอไทยเพศเมียจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากกว่า เพศผู้ เพศผู้มีลักษณะลำตัวเรียวยาว ในระยะฤดูวางไข่ส่วนท้องของปลาเพศเมียจะอูมเป่ง
สพช.สงขลา ฉีดฮอร์โมนเร่งปลากะพงขาววางไข่

สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา เร่งฉีดฮอร์โมนพ่อแม่พันธุ์ปลากะพงขาว กระตุ้นให้ปลากะพงขาววางไข่เร็วขึ้น เพื่อนำไข่มาเพาะฟักผลิตลูกปลากะพงขาว นำไปช่วยเหลือเกษตรกรทั้งในพื้นที่จ.สงขลาและจังหวัดใกล้เคียง หลังประสบปัญหาลูกปลาขาดแคลนอย่างหนัก โดยคาดว่าจะสามารถผลิตลูกปลาได้เกือบ1 ล้านตัว
วันนี้ (19 มี.ค. 56) นักวิชาการประมงและเจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จ.สงขลา เร่งผลิตลูกปลากะพงขาวเพื่อนำไปช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงในจ.สงขลาและจังหวัดใกล้เคียง เนื่องจากขณะนี้กำลังประสบปัญหาลูกปลากะพงขาวขาดแคลนอย่างหนัก
Sturgeon ปลาสเตอร์เจียนที่ดอยคำ
นายจรัลธาดา กรรณสูต ที่ปรึกษาสำนักราชเลขาธิการ อดีตอธิบดีกรมประมงเปิดเผยถึงการเพาะขยายพันธุ์ปลาพันธุ์ต่างประเทศราคาแพงในโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริดอยดำ ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ในโอกาสที่นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี นายสุวัฒน์ เทพอารักษ์ เลขาธิการ กปร. และผู้บริหารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เดินทางไปติดตามการดำเนินงานและเยี่ยมชมความก้าวหน้าของโครงการเมื่อวันก่อนว่า ขณะนี้ที่โครงการฯ มีการเพาะขยายพันธ์ุอยู่ 2 ชนคือ ปลาเรนโบว์เทราต์ และปลาสเตอร์เจียน
ซึ่งปลาเรนโบว์เทราต์ ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว คือ สามารถเพาะพันธุ์ได้ เติบโตที่นี่ได้ครบวงจร ผลิตได้ 1 ปี 10,000 ตัว โดยให้ราษฎรในโครงการเข้ามาดูแลเพื่อได้เรียนรู้ถึงวิธีการเลี้ยงจากนักวิชาการประมงในโครงการโดยเข้ามาเป็นลูกจ้างของโครงการ ส่วนผลิตผลก็ส่งขายในโครงการศิลปาชีพที่กรุงเทพฯและการเดินทางลงพื้นที่ของคณะ ครั้งนี้ก็เพื่อมาตรวจสอบความเป็นไปได้ในการปรับปรุงระบบการเลี้ยงเพื่อให้ได้ปริมาณที่มากกว่าที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ ซึ่งที่นี่มีปัญหาใหญ่ก็คือเรื่องไฟฟ้า เพราะมีไฟฟ้าไม่เพียงพอ เนื่องจากปลาต้องการความเย็นสูง เวลาเพาะพันธุ์จะต้องมีอุณหภูมิที่คงที่ เวลาที่ไข่จะฟักเป็นตัวก็ต้องการอุณหภูมิที่คงที่ ซึ่งอุณหภูมิในเวลากลางวันและกลางคืนของพื้นที่จะแตกต่างกันมาก จึงทำให้อัตราการรอดตายในการเพาะขยายพันธ์ุลูกปลาได้น้อยลง
ซึ่งปลาเรนโบว์เทราต์ ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว คือ สามารถเพาะพันธุ์ได้ เติบโตที่นี่ได้ครบวงจร ผลิตได้ 1 ปี 10,000 ตัว โดยให้ราษฎรในโครงการเข้ามาดูแลเพื่อได้เรียนรู้ถึงวิธีการเลี้ยงจากนักวิชาการประมงในโครงการโดยเข้ามาเป็นลูกจ้างของโครงการ ส่วนผลิตผลก็ส่งขายในโครงการศิลปาชีพที่กรุงเทพฯและการเดินทางลงพื้นที่ของคณะ ครั้งนี้ก็เพื่อมาตรวจสอบความเป็นไปได้ในการปรับปรุงระบบการเลี้ยงเพื่อให้ได้ปริมาณที่มากกว่าที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ ซึ่งที่นี่มีปัญหาใหญ่ก็คือเรื่องไฟฟ้า เพราะมีไฟฟ้าไม่เพียงพอ เนื่องจากปลาต้องการความเย็นสูง เวลาเพาะพันธุ์จะต้องมีอุณหภูมิที่คงที่ เวลาที่ไข่จะฟักเป็นตัวก็ต้องการอุณหภูมิที่คงที่ ซึ่งอุณหภูมิในเวลากลางวันและกลางคืนของพื้นที่จะแตกต่างกันมาก จึงทำให้อัตราการรอดตายในการเพาะขยายพันธ์ุลูกปลาได้น้อยลง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)